ท่านต้องการจะติดต่อกับฝ่ายวิจัยฯ เราหรือไม่? ติดต่อได้เลยที่นี่

    You are currently here!
  • Home
  • หน่วยส่งเสริมนวัตกรรมและพาณิชย์

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หน่วยส่งเสริมนวัตกรรมและพาณิชย์

IP

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) คืออะไร

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออก เช่น สินค้าต่าง ๆ การบริการ กรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เป็นต้น

 

ทรัพย์สินทางปัญญามีกี่ประเภท

ในทางสากล ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และ ลิขสิทธิ์ (Copyright)

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ได้พัฒนาหรือคิดค้นขึ้นใหม่ นอกจากนี้ยังรวมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องหมายการค้า ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า โดยรวมถึงแหล่งกำเนิดและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ได้แก่ 

สิทธิบัตร (Patent)
แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of Integrated Circuit)
เครื่องหมายการค้า (Trademark)
ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
ชื่อทางการค้า (Trade Name)
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

ลิขสิทธิ์ (Copyright) คือ อะไร และได้รับการคุ้มครองอย่างไร

ลิขสิทธิ์  หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียง แพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบทั้งโดยจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ นอกจากนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ไม่ครอบคลุมถึงความคิดหรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

สิทธิบัตร (Patent) คือ อะไร

สิทธิบัตร  คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) และอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) ซึ่งผู้ทรงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร มีสิทธิเด็ดขาด หรือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตร หรือ อนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

ประเภทของสิทธิบัตร

สิทธิบัตร มี 3 ประเภท ได้แก่
1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองการคิดค้นเกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) หมายถึง การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้ และแตกต่างไปจากเดิม
3. อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) คือ การให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก โดยอาจเป็นการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงจากการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย

ทำไมจึงควรขอรับสิทธิบัตร

ผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ควรขอรับสิทธิบัตร เพื่อให้ได้รับการตอบแทนจากสังคม ได้แก่
- การคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมของผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบ
- การได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร  เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นแสวงหาประโยชน์จากผลงานดังกล่าวนั้นโดยมิชอบ ซึ่งผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบสามารถที่จะนำการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรนั้นไปผลิต จำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบัตรนั้นโดยได้รับค่าตอบแทน

อายุการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตรสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตร

ที่มา : ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา   มหาวิทยาลัยขอนแก่น

IP

การขอรับความคุ้มครอง

สำหรับบุคลากร/นักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น  (คณะศึกษาศาสตร์)

ขั้นตอนและคำแนะนำในการยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร

1.ผู้มีความประสงค์จะยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรให้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ที่

งานวิจัย นวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์ ชั้น 3 ตึกคณะศึกษาศาสตร์  โทร 043 343 452-3 ต่อ 122 , e-mail : ….

2. File รายละเอียดเกี่ยวกับการประดิษฐ์ template/คำชี้แจง

2.1 รายละเอียดการประดิษฐ์ รายละเอียดต้องระบุหัวข้อเรื่องตามลำดับ ดังต่อไปนี้
- ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ จะต้องระบุว่าการประดิษฐ์นั้นคืออะไร โดยระบุถึงลักษณะสำคัญของการประดิษฐ์นั้นด้วย
- ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ จะต้องระบุถึงลักษณะที่สำคัญของการประดิษฐ์โดยย่อ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์ดังกล่าว
- สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์
- ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง จะต้องระบุลักษณะของการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนแล้ว พร้อมทั้งข้อบกพร่องต่างๆ หรือปัญหาของการประดิษฐ์ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นแตกต่างกับการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนแล้วอย่างไร
- การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ จะต้องระบุถึงรายละเอียดของการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร  ว่ามีลักษณะโครงสร้าง  ส่วนประกอบ  องค์ประกอบ หรือขั้นตอนอย่างไรบ้าง  การบรรยายในหัวข้อนี้จะต้องละเอียดสมบูรณ์ และชัดเจน
2.2 ข้อถือสิทธิ
2.3 บทสรุปการประดิษฐ์
2.4 รูปเขียน (ถ้ามี)

3. เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขความถูกต้องของคำขอ และส่งให้ผู้ประดิษฐ์ตรวจสอบ

4. หากไม่มีข้อแก้ไขเพิ่มเติมเจ้าหน้าที่จะดำเนินการจัดส่งเอกสารไปยังเพื่อดำเนินการต่อไป

การดำเนินการต่างๆ  ใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับการแก้ไขของงานว่ามีมากน้อยเพียงใด)
การดำเนินการของสำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี
*อนุสิทธิบัตร  ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี    * * สิทธิบัตร  ใช้เวลาประมาณ 3-7 ปี

สำหรับบุคลากร/นักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (คณะศึกษาศาสตร์)

ขั้นตอนและคำแนะนำในการยื่นจดลิขสิทธิ์

1.ผู้มีความประสงค์จะยื่นจดลิขสิทธิ์ ให้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ที่

งานวิจัย  นวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์ ชั้น 3 ตึกคณะศึกษาศาสตร์  โทร 043 343 452-3 ต่อ 122 , e-mail : ….

1.2 ผลงานที่ต้องการยื่นจด
- หนังสือ,ตำรา,คู่มือต่างๆ (ทำเป็นรูปเล่ม โดยมีคำนำ สารบัญ พร้อมอ้างอิง โดยจะมีเลขที่ ISBN หรือไม่มีก็ได้) จำนวน 1 ชุด
- กรณีเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แนบรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ พร้อมสำเนา Source Code ให้เอาสำเนา Source Code เฉพาะ 5 หน้าแรก และ 5 หน้าสุดท้าย จำนวน 2 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด (ไม่ต้องลงวันที่) กรณีมีผู้สร้างสรรค์ผลงานร่วมหลายคน ให้แนบสำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง   1 ชุด มาพร้อมกัน
2.4 รูปเขียน (ถ้ามี)

2. เจ้าหน้าที่จะดำเนินการจัดทำแบบฟอร์มคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และเอกสารประกอบต่างๆ จากนั้นส่งให้ผู้สร้างสรรค์ลงนาม

3. ส่งเอกสารไปยัง ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อดำเนินการต่อไป

IP

ประกาศและระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

ประกาศและระเบียบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย

ที่มา : ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา มข.

ประกาศและระเบียบต่าง ๆ ของคณะ

การให้รางวัลผลงานวิจัยที่ได้รับสิทธิบัตร/ อนุสิทธิบัตร/ ลิขสิทธิ์

ที่มา : กองทุนวิจัย คณะศึกษาศาสตร์

IP

ข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา

ปี พ.ศ.สิทธิบัตรอนุสิทธิบัตร
2566
2565
2564
2563
2561

หมายเหตุ : หากต้องการทราบรายละเอียดทรัพย์สินทางปัญญาให้คลิกที่จำนวนผลงานนั้นๆ

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา